กรอกระดูก - ปลูกกระดูก

การปลูกกระดูก หรือการเสริมกระดูก

​การปลูกกระดูก หรือการเสริมกระดูก คือหนึ่งวิธีของการรักษาที่สามารถช่วยให้ผลการรักษาออกมาสมบรูณ์แบบมากขึ้น ซึ่งจะให้การรักษาในกรณีที่ปริมาณของกระดูกขากรรไกรไม่สมบูรณ์หรือมีไม่เพียงพอ เช่น การฝังรากเทียม (Implant) หรือแก้ไขความไม่สมดุลของรูปหน้า เป็นต้น ส่วนกระดูกที่จะนำมาปลูกถ่ายนั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันตแพทย์ผู้ให้การรักษา ในการเลือกประเภทของวัสดุที่จะนำมาใช้งานให้เหมาะสมกับลักษณะทางกายวิภาคของคนไข้แต่ละท่าน 

ในปัจจุบันการปลูกกระดูกสามารถทำควบคู่ไปกับการฝังรากฟันเทียม ส่วนกระดูกที่นำมาใช้งานนั้นทันตแพทย์อาจใช้กระดูกของคนไข้เอง หรือใช้กระดูกสังเคราะห์ ขึ้นอยู่กับความเพียงพอและความเหมาะสมกับลักษณะของงานที่ทำประกอบกัน

​ทุกคนจำเป็นต้องปลูกกระดูกหรือไม่

หากต้องการที่จะผ่าตัดฝังรากฟันเทียม สามารถนัดเข้ามาปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อวางแผนและประเมินความพร้อมของกระดูกที่รองรับรากเทียมก่อนได้ เพื่อที่จะได้ทราบว่าเรามีความจำเป็นต้องปลูกถ่ายกระดูกหรือไม่ ทันตแพทย์จะทำการประเมินช่องปากและกระดูกรองรับฟันของแต่ละคน อย่างไรก็ตามการประเมินที่ละเอียดที่สุดในปัจจุบัน คือ การทำ CT Scan จะทำให้เราทราบรายละเอียดโครงสร้างของกระดูกขากรรไกร ซึ่งมีความแม่นยำใช้ในการวางแผนการรักษา

ประเภทของกระดูกทดแทน (Bone graft)

ปัจจุบันมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่สามารถหากระดูกมาทดแทนได้อย่างหลากหลาย โดยหลัก ๆ กระดูกทดแทนจะมีทั้งหมด 4 ชนิด คือ

1.Allografts : กระดูกจากสิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียวกันเป็นกระดูกจากผู้บริจาคซึ่งผ่านกรรมวิธีการฆ่าเชื้อ และสเตอร์ไรด์แล้ว เป็นเซลล์กระดูกที่ไม่มีชีวิต ดังนั้นการปลูกถ่ายกระดูกชนิดนี้จะเกิดความเสี่ยงกรณีร่างกายต่อต้าน ทำให้กระดูกไม่ติดเกิดขึ้นได้น้อยมาก และไม่จำเป็นต้องได้รับการการผ่าตัดหรือได้การแก้ไขเพิ่มเติ่มอื่นๆอีก   

2.Autograft : กระดูกจากคนไข้คือการผ่าตัดเก็บกระดูกจากบริเวณอื่นของคนไข้ มาปลูกในส่วนที่จะฝังรากฟันเทียม ข้อดีคือ เป็นกระดูกของคนไข้เอง มีเซลล์ของตัวเอง ร่างกายจะไม่ต่อต้าน แต่ข้อเสียคือคนไข้อาจจะมีแผลหลายตำแหน่ง ซึ่งตำแหน่งที่นิยมเก็บมา ก็คือกระดูกขากรรไกรบริเวณฟันคุด และคาง การเก็บกระดูกในลักษณะนี้ สามารถเก็บมาได้ในหลากหลายรูปแบบ เช่น เป็นชิ้น (block bone graft) หรือเป็นผง (particulated) เป็นต้น

3.XenoGraft : กระดูกจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นเป็นกระดูกจากสัตว์ผ่านกรรมวิธีปลอดเชื้อ ซึ่งมีกรรมวิธีที่ยุ่งยาก จึงทำให้ราคาของกระดูกชนิดสูง แต่ข้อดีของกระดูกชนิดนี้คือละลายหายไปช้า ทำให้เป็นตัวเลือกแรก ๆ ของทันตแพทย์ที่จะทำการปลูกกระดูก

4.Alloplast : กระดูกสังเคราะห์ที่ทำจากแคลเซียม ฟอสเฟต หรือเซรามิก กระดูกที่จะนำมาปลูกถ่ายนั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันตแพทย์ผู้ให้การรักษา ในการเลือกประเภทของวัสดุที่จะนำมาใช้งานให้เหมาะสมกับลักษณะทางกายวิภาคของผู้ป่วยแต่ละท่าน


ปัจจุบันการเสริมกระดูก ปลูกถ่ายกระดูกฟันได้มีความสำคัญมากขึ้นจนเกือบจะรวมอยู่ในขั้นตอนการเตรียมพร้อมก่อนเข้ารับการปลูกรากฟันเทียม เนื่องจากผู้เข้ารับบริการปลูกรากฟันเทียมมักจะมีปริมาณกระดูกบริเวณขากรรไกรที่ไม่เพียงพอที่จะรองรับรากฟันเทียม ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเสื่อมสลายตัวของกระดูกรองรับฟันหลังจากที่ต้องสูญเสียฟันบริเวณนั้นไป ในบางกรณีการเสื่อมสลายตัวของกระดูกขากรรไกรสามารถส่งผลกระทบต่อโครงหน้าของบุคคลนั้นทำให้ดูแก่กว่าวัยอีกด้วย ที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหาของปริมาณกระดูกเพื่อการปลูกรากฟันเทียมนั้นอาจเป็นเรื่องที่ยาก แต่ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาทำให้การปลูกถ่ายกระดูกสามารถทำได้ด้วยขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อนเพื่อให้ได้ขนาดและปริมาณตามที่ต้องการ ซึ่งช่วยเพิ่มความมั่นคงให้กับรากฟันเทียมไททาเนียมมากยิ่งขึ้น

การปลูกกระดูกพร้อมกับการทำรากเทียม

ในปัจจุบันการปลูกกระดูกสามารถทำพร้อมกับการปลูกรากฟันเทียมได้เลย ส่วนกระดูกที่นำมาใช้นั้นทันตแพทย์อาจใช้กระดูกของคนไข้เอง หรือใช้กระดูกสังเคราะห์ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและลักษณะการรักษาประกอบกัน ซึ่งวิธีนี้มีข้อดีคือคนไข้ไม่ต้องเสียเวลาในการมาพบทันตแพทย์หลายครั้ง


การตัดเหงือกร่วมกับการกรอกระดูก (Crown Lengthening) คืออะไร

การตัดเหงือกร่วมกับการกรอกระดูก (Crown Lengthening) คือ การผ่าตัดขอบเหงือกร่วมกับการกรอลดความสูงของขอบกระดูกฐานเหงือก สามารถแก้ไขยิ้มเห็นเหงือกเยอะได้อย่างถาวร เมื่อผ่าตัดเสร็จต้องเย็บและปิดแผลไว้ แล้วกลับมาตัดไหมตามที่ทันตแพทย์แนะนำ การตัดขอบเหงือกร่วมกับการกรอแต่งขอบกระดูกใต้เหงือกออกบางส่วน จะทำให้ผลการรักษาเป็นแบบถาวร เหงือกจะไม่กลับมางอกซ้ำอีก เพียงแต่ผู้รับการรักษาต้องดูแลรักษาสุขภาพเหงือกและฟันให้ดีให้ถูกต้อง และหมั่นมาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน หากผู้รับการรักษาไม่ดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีเท่าที่ควร อาจทำให้เกิดโรคช่องปากต่างๆเกิดขึ้นได้ เช่น คอฟันสึก เหงือกบวม เหงือกร่น ฟันผุ อันเป็นเหตุให้ระดับเหงือกสูงต่ำไม่เท่ากัน ซึ่งจะทำให้ยากแก่การแก้ไข หรือรักษาให้กลับมาดีเหมือนเดิมได้

ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจตัดเหงือกร่วมกับการกรอกระดูก

การตัดเหงือกร่วมกับการกรอกระดูก ก่อให้เกิดแผลและเกิดกระบวนการอักเสบเหมือนปกติทั่วไปดังนั้นผู้เข้ารับการรักษาต้องไม่มีโรคประจำตัว ที่มีผลต่อการเกิดแผล การหายของแผลหรือการแพ้ยาชาดังนั้นคนไข้ต้องแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบก่อนทำการรักษา การยิ้มเห็นเหงือกเยอะเกิดได้จากหลายสาเหตุ ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องแก้ไขโดยการจัดฟัน

การดูแลหลังตัดเหงือกร่วมกับการกรอกระดูก

  • หลังตัดเหงือกร่วมกับการกรอกระดูก จะใช้เวลา 3-4 สัปดาห์แผลจึงจะค่อยๆหาย คนไข้อาจรู้สึกปวดหรือตึงๆบริเวณที่แผล มีอาการบวมได้เล็กน้อย และอาจมีอาการเสียวฟันร่วมด้วย 
  • แปรงฟันและทำความสะอาดเหงือกอย่างเบามือสม่ำเสมอวันละ 2 ครั้ง 
  • รับประมานอาหารอ่อน งดอาหารเผ็ด อาหารและเครื่องดื่มร้อนๆ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงงดสูบบุหรี่ด้วย 
  • อาจต้องมีการลางานหลังตัดเหงือกพร้อมกรอกระดูกและงดออกกำลังกายระหว่างรอแผลหาย 
  • ต้องกลับเข้ามาตัดไหมกับคุณหมอหลังทำ 2 สัปดาห์ (กรณมีการเย็บแผล) และต้องทานยาตามที่คุณหมอจ่าย